บทที่ 1


ความหมายของนวัตกรรม

นว แปลว่า ใหม่

กรรม แปลว่า หลักปฎิบัติ หรือ วิธีการ

นวตกรรม หรือ นวกรรม คือ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม

โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ

ขึ้นมาหรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง

มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal)

ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ

นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ

มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention)

การพัฒนา(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521: 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ

ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีกาใหม่ๆ

ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง

พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ

ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง

การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบ

การศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้

ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน

เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia)

และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)

- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness)

ศูนย์การเรียน (Learning Center)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

- การเรียนทางไปรษณีย์

4. ประสิทธิภาพในการเรียน

- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์

- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป

หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม

1.เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน

2.มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ ใช้เข้า

ไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

3.มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

4.ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา

1) นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

2) บทเรียนน่าสนใจ

3) นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม

4) ลดเวลาในการสอน

5) บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน

6) ประหยัดค่าใช้จ่าย

นวัตกรรมทางการศึกษาในประเทศไทย

1. ชุดการสอน

ชุดการสอน คือ การนำเอาสื่อประสมมาใช้เปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมแต่ละคนให้บรรลุตามเป้าหมาย

2.บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูป

เป็นบทเรียนซึ่งมีสื่อการสอนได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ไว้อย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน

4.ศูนย์การเรียน (Learning Center)

ศูนย์การเรียน หมายถึง สถานที่ซึ่งจัดบรรยากาศให้ผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตัวเองจากโปรแ

กรมการสอน ซึ่งจัดไว้ในรูปชุดการสอน

5.การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

การสอนเป็นคณะ เป็นการสอนที่ต้องมีครูตั้งแต่

2 คนขึ้นไปร่วมกันรับผิดชอบการสอนในวิชาเดียวกันและร่วมกัน

ประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน

6.การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)

การสอนแบบจุลภาค คือ การสอนในสภาพการจำลองย่นย่อ เพื่อฝึกทักษะการสอนโดยการสอนกับนักเรียน

กลุ่มขนาดเล็ก ๆ

7.การเรียนเพื่อความรอบรู้ (Mastery Learning)

บลูม ถือว่าการที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในการเรียน

ผู้เรียนจะต้องรอบรู้ในจุดใดจุดหนึ่งซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดที่ผู้เรียนจะต้องรู้ จึงจะสามารถเรียนต่อไปได้

ขั้นตอนของการเรียน เพื่อความรอบรู้ของบลูม

1. รายวิชาแบ่งเป็นตอน ๆ หรือหน่วยย่อยให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

2. กำหนดจุดประสงค์ในแต่ละหน่วยให้ชัดเจน

3. กำหนดมาตรฐานของความรอบรู้

4. ภารกิจในการเรียนรู้เหมือนการสอนในห้องเรียนปกติ

5. ทดสอบวินิจฉัยความก้าวหน้าในการเรียนของแต่ละหน่วย

6. การสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติม

7. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแต่ละหน่วยให้ประเมินผล

8.การสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง

จุดประสงค์ของการสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง

1. เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมการศึกษา

2. เพื่อสนับสนุนความจริงที่ว่าเด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล

ขั้นตอนการสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง

1. ผู้เรียนกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เอง

2. ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ

3. นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคล

4. ศึกษาเรื่องที่สนใจ

5. นักเรียนจะต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ศึกษา

6. ครูต้องจัดเวลาและโอกาสให้กับผู้เรียน

นวัตกรรมทางการศึกษา ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

1. E-learning

เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด

และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาห์จรัสแสง ให้คำนิยาม E-

Learning หรือElectronic Learning ว่า หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ

นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง

ภาพกราฟิกวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ.

การใช้ Web Based Course

การที่ผู้สอนให้รายละเอียดทั้งด้านเนื้อหา แหล่งค้นคว้าแบบฝึกหัด

ฯลฯโดยการนำรายละเอียดดังกล่าวใส่ไว้ในเครือข่าย

คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา

สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดลักษณะการเรียนการสอนแบบ Asynchronous มีดังนี้

1 การเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)

2 รับข้อมูลได้รวดเร็ว ทันเวลา และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

3 การให้ความรู้ผ่านสื่อหลากหลาย (Multimedia)

2. ห้องเรียนเสมือนจริง

ความหมาย การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง

เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการเรียน

การสอนที่จะต้องมีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดผู้เรียนและผู้สอน

เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอนผู้เรียนไม่ต้องเดินทางแต่เรียกผ่านเครือ

ข่ายตามกำหนดเวลาเพื่อเข้าห้องเรียนและเรียน ได้แม้จะอยู่ที่ใดในโลก

การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน

มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ

ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่ายภาพเคลื่อน

ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย

การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ

ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ

1. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาดภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี

เป็นต้น

2. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ

3. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน

4. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก

5. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น