บทที่ 5


การออกแบบการเรียนการสอน

การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย

เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน

(Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด

แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system

approach)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ

ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ

(efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้

ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากร

ะบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback)

ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ความหมายของระบบ

มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า “ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy,

1968) หรือ วอง (Wong, 1971) บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า “ระบบ

หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน

ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำ

หนดไว้

ความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี

1. องค์ประกอบ

2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ

3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

ลักษณะของระบบที่ดี

ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable)

การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ

1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)

2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)

3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)

4. มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)

มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้

เรียกว่า “สิ่งแวดล้อม” การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด

(open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน

อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต (outputs)

แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อม สามารถรักษาสภาพตัวเองได้

การปรับและแก้ไขตนเอง

ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง

ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง

(Self – regulation) ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ ตัวอย่างเช่น

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้

ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี

ร่างกายก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น

โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด

ในขณะที่ระบบสร้างผลผลิต (Output) ส่งออกไปสู่สิ่งแวดล้อม (environment)

นั้นระบบก็จะนำเอาผลผลิตส่วนหนึ่งมาตรวจสอบโดยการป้อนเข้าที่ส่วนนำเข้า (input) ใหม่

ลักษณะนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feed back)

ระบบเปิดและระบบปิด

มองไปรอบ ๆ ตัวเราแล้วจะเห็นว่าประกอบไปด้วยระบบต่างๆ

มากมายทั้งที่เป็นระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบสุริยะจักรวาล ระบบลมบกลมทะเล

ระบบหมุนเวียนโลหิต หรือระบบที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมา เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา

ระบบการเงิน ระบบการธนาคาร ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ ฯลฯ ระบบต่าง ๆ

ตามที่กล่าวมานี้สามารถที่จำแนกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ ระบบเปิด (open system) และระบบปิด

(closed system)

เรื่องของวิธีระบบ (System approach) นั้น ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริง ๆ

แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น

จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา

ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem)

และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีก

วิธีระบบ (System approach)

วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา

ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด

ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด (Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)

จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ ทำให้ทราบความเป็นมาของระบบการสอนรวมถึงคำว่า “ระบบ”

ว่าเป็นอย่างไร และปรับเปลี่ยนดัดแปลงการออกแบบการเรียนการสอนด้วยเหตุใด

ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเริ่มจากความเป็นมา ความหมาย

ระดับของการออกแบ องค์ประกอบ รูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน และสุดท้ายคือ

กระบวนการขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน

1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)

2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)

3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)

4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)

5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)

ปัญหาด้านทิศทาง

ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร

ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย

ปัญหาด้านการวัดผล

ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น

จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี

ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร

ปัญหาด้านเนื้อหา และการลำดับเนื้อหา

ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน

เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย

ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู

อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน

มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น

ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ

และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น

ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ

ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง

ๆ บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ

หรืออื่น ๆ

องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน

รูปแบบดั้งเดิม (Generic model)

1. การวิเคราะห์ (Analysis)

2. การออกแบบ (Design)

3. การพัฒนา (Development)

4. การนำไปใช้ (Implementation)

5. การประเมินผล (Evaluation)

จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย

ตามความเชื่อความต้องการของตน

รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นองค์ประกอบ

รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ

รูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์ (Dick and Carey model)

รูปแบบการสอน (Model) ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ

1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goals)

2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)

3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify Entry Behaviors, Characteristics)

4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective)

5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion - Referenced Test Items)

6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop Instructional Strategies)

7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials)

8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)

9. การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)

10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design and Conduct Summative E valuation)

ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger lach and Ely Model) เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการ

ออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 อย่างด้วยกันคือ

1. การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน อย่างไร

2. การกำหนดเนื้อหา (Specify Content)

เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

3. การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze Learner Background Knowledge)

เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน

4. เลือกวิธีสอน (Select Teaching Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย

5. กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร

6. กำหนดเวลา (Time Allocation) กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด

7. กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify Setting and Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน

ต้องเตรียมอะไรบ้าง

8. เลือกแหล่งวิชาการ (Select Learning Resources) ต้องใช้สื่ออะไร อย่างไร

9. ประเมินผล (Evaluation) ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่

10. วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze Feedback for Revision) เป็นการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น